เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยงในราชบุรี นี้ ผู้จัดทำได้สังเคราะห์มาจากหนังสือหลายเล่มที่มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านในจังหวัดราชบุรี ได้เขียนและจัดพิมพ์ไว้ ซึ่งตั้งใจจะบันทึกไว้เพื่อให้สามารถใช้สืบค้นได้ในโลกออนไลน์อีกทางหนึ่ง เรื่องราวของไทยกะเหรี่ยงในราชบุรีนี้ มีความยาวมาก ผู้จัดทำจึงได้จัดแบ่งออกเป็นหลายตอนเพื่อสะดวกในการอ่านต่อไป
ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยถือว่ากะเหรี่ยงเป็นชาวไทยภูเขากลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงในราชอาณาจักร มีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภาษา และการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องป่าและพืชพรรณต่างๆ เป็นอย่างดี นักวิชาการในอดีตได้แบ่งกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ได้แก่
- กะเหรี่ยงสกอว์ หรือปกาเกอะญอ
- กะเหรี่ยงซูว หรือ โผล่ว, โพล่ง
- กะเหรี่ยงคะยาห์ หรือ ยางแดง
- กะเหรี่ยงตองซู
นักวิชาการสมัยใหม่กลับมองเห็นว่า คะยาห์ และตองซู (หรืออาจเรียกว่าต้องสู้) ไม่ไช่กะเหรี่ยงเพราะเป็นเผ่าเอกเทศที่มีภูมิหลัง ภาษา พฤติกรรมทางสังคม ลักษณะทางชาติพันธุ์ ความเชื่อ และการแต่งกายเป็นลักษณะเด่นแตกต่างจากกะเหรี่ยง
ต้องสู คือเงี้ยว (ไทยใหญ่ที่อยู่ในภาคเหนือ) หรือ กุลา (คุลา) ที่อยู่ในภาคอีสาน พวกนี้เป็นักเดินทางเร่ร่อนค้าขายทางไกลโดยใช้วัวต่างหรือกองเกวียน
คะยาห์ หรือยางแดง อยู่แถบลุ่มแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำเมย ในรัฐกะยาห์หรือรัฐคะเร็นนี่ คู่กับรัฐกอทูเลของกะเหรี่ยงในประเทศพม่า คะยาห์ (ยางแดง) จะเรียกตัวเองว่า แบร, บะไฆ, บะเว และกะยาห์ มีบางส่วนอพยพเข้ามาอยู่ชายแดนประเทศไทยที่ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก และเชียงใหม่
Kayan/Karen
ภาษาพม่าโบราณเรียกชาวกะเหรี่ยงว่า "เกอะยาง/กะยาง (Kayan)" ส่วนชาวล้านนาในอดีตเรียกคนกะเหรี่ยงคล้ายพม่า แต่ตัดพยางค์หน้าออกเหลือแต่พยางค์หลัง โดยเรียกว่า "ยาง" ต่อมาฝรั่งชาติตะวันตกมักเขียนว่า "Karen (คะเร็น)" ซึ่งมีความหมายว่า กะเหรี่ยง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงกะเหรี่ยงในภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า "Karen" สืบมา
ยางขาว/ยางแดง
ชาวล้านนาเป็นผู้ที่รู้จักและผูกพันกับกะเหรี่ยงมายาวนาน ชาวล้านนามักเรียกกะเหรี่ยงแยกออกเป็นกลุ่มตามแต่ที่นิยมใส่เสื้อผ้า เช่น กะเหรี่ยงที่นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายสีขาว เรียกว่า "ยางขาว" ส่วนกะเหรี่ยงที่นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายสีแดงจะเรียกว่า "ยางแดง" การเรียกของชาวล้านนานี้ก็เรียกเพื่อให้เห็นความแตกต่างเท่านั้น ต่อมาภายหลังมีการเรียกว่า "กะเหรี่ยง" มากขึ้น คำว่าว่ายาง ซึ่งเป็นภาษาพูดก็ค่อยเลือนหายไป เหลือเพียงเป็นคำเรียกขานปรากฏอยู่ในเอกสารเก่าๆ หรือเป็นภาษาพูดของชาวล้านนาผู้สูงอายุเท่านั้น
ชาวกะเหรี่ยงในราชบุรี
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในราชบุรี มี 2 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยงสกอว์ (ปกาเกอะญอ) และกะเหรี่ยงซูว (โผล่ว,โพล่ง, โพล่วง) ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้มีสำนึกทางสังคม ภาษา ลักษณะทางเชื้อชาติ ความเชื่อ พฤติกรรมทางสังคมและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์คล้ายคลึงกัน และได้รับการยอมรับจากกลุ่มกะเหรี่ยงอิสระรัฐกอทูเล ประเทศพม่า ซึ่งวิชาภาษาปกาเกอะญอและภาษาโพล่ง ที่พูดกันนี้ได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของรัฐกอทูเลด้วย
ปกาเกอะญอ มีความหมายในภาษาไทยว่า " เราเป็นคน เป็นมนุษยชาติที่เรียบง่าย และเราเป็นคนสมถะ" (ปกา แปลว่า เรา พวกเรา ,เกอะยอ แปลว่า คน มนุษยชาติ เรียบง่าย)
ที่มาข้อมูล
โพล่ง มีความหมายในภาษาไทยว่า "เราเป็นคนหรือเราเป็นมนุษยชาติ" (โพล่ง แปลว่า คน มนุษยชาติ)
ในบางเอกสารระบุว่า ชาวกะเหรี่ยงในราชบุรีเรียกตนเองว่า หละโพล่ง/เหลอะโผล่ง (ออกเสียงพยางค์แรกไม่เต็มสระและเบากว่าพยางค์หลัง) มีความหมายในภาษาไทยว่า "คน หรือ มนุษย์" และบางเอกสารก็บอกว่าชาวกะเหรี่ยงเรียกตนเองว่า กะโพล่ง, โพล่ง, โปว์ หรือ โป ก็มี การที่มีการเขียนชื่อและเรียกชื่อกะเหรี่ยงที่แตกต่างกันหลายแบบนี้ ขึ้นอยู่กับเสียงภาษากะเหรี่ยงที่ได้ยิน และนำมาเขียนในภาษาไทยซึ่งบางครั้ง ภาษาไทยก็ไม่สามารถเขียนแทนเสียงได้ทุกภาษา และเคยมีเรียกชาวกะเหรี่ยง เป็น กะหร่าง ก็ยังมี
เกรี่ยง
ชาวมอญเรียก กะเหรี่ยง ว่า เกรี่ยง เมื่อครั้งอยู่ในประเทศพม่า ชาวมอญมีความสัมพันธ์กับชาวกะเหรี่ยงอย่างแนบแน่น แม้ชาวมอญจะอพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแถบลุ่มน้ำแม่กลองแล้ว ประเพณีการรำผีมอญ จึงมีการรำผีกะเหรี่ยงด้วย โดยนับถือควบคู่กันไป ชาวไทยภาคกลางในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกกะเหรี่ยงตามชาวมอญว่า เกรี่ยงหรือกะเหรี่ยง
ในบางเอกสารระบุว่า ชาวกะเหรี่ยงในราชบุรีเรียกตนเองว่า หละโพล่ง/เหลอะโผล่ง (ออกเสียงพยางค์แรกไม่เต็มสระและเบากว่าพยางค์หลัง) มีความหมายในภาษาไทยว่า "คน หรือ มนุษย์" และบางเอกสารก็บอกว่าชาวกะเหรี่ยงเรียกตนเองว่า กะโพล่ง, โพล่ง, โปว์ หรือ โป ก็มี การที่มีการเขียนชื่อและเรียกชื่อกะเหรี่ยงที่แตกต่างกันหลายแบบนี้ ขึ้นอยู่กับเสียงภาษากะเหรี่ยงที่ได้ยิน และนำมาเขียนในภาษาไทยซึ่งบางครั้ง ภาษาไทยก็ไม่สามารถเขียนแทนเสียงได้ทุกภาษา และเคยมีเรียกชาวกะเหรี่ยง เป็น กะหร่าง ก็ยังมี
เกรี่ยง
ชาวมอญเรียก กะเหรี่ยง ว่า เกรี่ยง เมื่อครั้งอยู่ในประเทศพม่า ชาวมอญมีความสัมพันธ์กับชาวกะเหรี่ยงอย่างแนบแน่น แม้ชาวมอญจะอพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแถบลุ่มน้ำแม่กลองแล้ว ประเพณีการรำผีมอญ จึงมีการรำผีกะเหรี่ยงด้วย โดยนับถือควบคู่กันไป ชาวไทยภาคกลางในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกกะเหรี่ยงตามชาวมอญว่า เกรี่ยงหรือกะเหรี่ยง
ที่มาข้อมูล
- วีระพงศ์ มีสถาน. (2550). คนราชบุรี. ราชบุรี : สำนักวัฒนธรรม จ.ราชบุรี.
- สุรินทร์ เหลือลมัย . (2547). ไทยกะเหรี่ยง. 8 ชาติพันธุ์ในราชบุรี. สำนักวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีและสภาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.
- คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำหนังสือ เรื่อง "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา". (2543). หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดราชบุรี. กรมศิลปากร : องค์การค้าของคุรุสภา.
- มณฑลราชบุรี. (2468). สมุดราชบุรี. พระนคร : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น